เมนู

4. อรรถกถาโปตลิยสูตร


โปตลิยสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า องฺคุตฺตราเปสุ ความว่า ชนบทที่ชื่อว่า
อังคุตตราปะนั้น ก็คือแคว้นอังคะนั่นเอง แอ่งน้ำที่อยู่เหนือแม่น้ำมหี เรียก
กันว่า อังคุตตราปะก็มี เพราะอยู่ไม่ไกลแอ่งน้ำนั้น.
ถามว่า แอ่งน้ำนั้นอยู่ทิศเหนือแม่น้ำมหีไหน ?
ตอบว่า แม่น้ำมหีสายใหญ่ ในข้อนี้จะแถลงให้แจ่มแจ้งดังต่อไปนี้.
เล่ากันว่า ชมพูทวีปนี้ มีเนื้อที่ประมาณ หมื่นโยชน์ ในหมื่นโยชน์
นั้น เนื้อที่ประมาณสี่พันโยชน์คลุมด้วยน้ำ นับได้ว่าเป็นทะเล มนุษย์อาศัย
อยู่ในเนื้อที่ประมาณสามพันโยชน์ ภูเขาหิมพานต์ก็ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ
สามพันโยชน์ สูงร้อยห้าโยชน์ ประดับด้วยยอด แปดหมื่นสี่พันยอดงดงาม
ด้วยแม่น้ำห้าร้อยสาย ไหลอยู่โดยรอบ มีสระใหญ่ตั้งอยู่ 7 สระ คือ สระ-
อโนดาต สระกรรณมุณฑะ สระรถการะ สระฉัททันตะ สระกุณาละ สระ
หงสปปาตะ สระมันทากินี สระสีหปปาตะะ ยาว กว้างและลึกห้าสิบโยชน์ กลม
สองร้อยห้าสิบโยชน์ ในสระทั้ง 7 นั้น สระอโนดาต ล้อมด้วยภูเขา 5 ลูก
คือ สุทัศนกูฏ จิตรกูฎ กาฬกูฎ คันธมาทนกูฏ ไกรลาสกูฏ ในภูเขา 5 ลูก
นั้น สุทัศนกูฏ เป็นภูเขาทอง สูงสองร้อยโยชน์ ข้างในโค้ง สัณฐานเหมือน
ปากกา ตั้งปิดสระนั้นนั่นแล. จิตรกูฏเป็นภูเขารัตนะทั้งหมด กาพกูฏเป็นภูเขา
แร่พลวง คันธมาทนกูฎ เป็นยอดเขาที่มีพื้นราบเรียบ หนาแน่นไปด้วยคันธ-
ชาติทั้งสิบ คือ ไม้รากหอม ไม้แก่นหอม กระพี้หอม ไม้เปลือกหอม ไม้สะเก็ด